21 ก.พ. 2553

กังหันชัยพัฒนา


กังหันชัยพัฒนาต้นแบบ
กังหันชัยพัฒนา เป็น สิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันบำบัดน้ำเสีย“สิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย” เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำแก่ปวงชน
ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสีย จากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร
ส่วนประกอบ
กังหันชัยพัฒนา เป็น เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย (สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ)
ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มีใบพัดที่ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน
มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน
ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่นไฮโดรฟอยล์ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง
การทำงาน
ตามทฤษฎีเครื่องกลเติมอากาศ นับว่าการเติมอากาศหรือออกซิเจนเป็นหัวใจของระบบบำบัดน้ำเสีย เพราะถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก จุลินทรีย์ก็สามารถบำบัดน้ำได้ดี และบำบัดน้ำเสียได้มากขึ้น แต่ที่ความดันบรรยากาศซึ่งเป็นความดันที่ค่อนข้างต่ำ สำหรับออกซิเจนในการละลายน้ำ จึงต้องมีการเพิ่มพื้นที่สัมผัส ระหว่างอากาศกับน้ำให้ได้มากที่สุด
กังหันชัยพัฒนา เป็น กังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น
การเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำจะช่วยให้จุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการทางชีวภาพ ที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ และใช้ค่าใช้จ่ายในการบำบัดน้ำเสียน้อย และแหล่งน้ำเสียที่กระจายไปตามแหล่งต่างๆ จึงทำให้ยากแก่การรวบรวมน้ำเสีย เพื่อนำไปบำบัดในโรงบำบัดน้ำเสีย และต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง
การประยุกต์ใช้งานสามารถใช้ประโยชน์เพื่อเติมอากาศให้กับน้ำหรือใช้เพื่อขับเคลื่อนน้ำได้ โดยการใช้งานทั้งในรูปแบบ ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และใช้ในรูปแบบเคลื่อนที่ เพื่อเติมอากาศให้กับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ หรือตามคลองส่งน้ำที่มีความยาวมาก ซึ่งดัดแปลงได้ด้วยการใช้พลังงาน จากเครื่องยนต์ของกังหัน
จุดเริ่มต้นของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาสร้างขึ้น เพื่อการแก้มลพิษทางน้ำซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่
วิวัฒนาการของกังหันน้ำชัยพัฒนานั้น เริ่มจากการสร้างต้นแบบได้ครั้งแรกในปี 2532 แล้วนำไปติดตั้งยังพื้นที่ทดลองเพื่อแก้ปัญหาไปพร้อมๆ กัน
ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนากังหันน้ำ ซึ่งโครงสร้างและส่วนประกอบ ในส่วนที่เป็นปัญหา ได้รับการแก้ไขมาโดยตลอด นับแต่มีการสร้างเครื่องต้นแบบ
ในด้านโครงสร้างนั้นได้พัฒนาให้กังหันน้ำหมุนด้วยความเร็ว 1,450 รอบต่อนาที โดยที่ซองตักน้ำหมุนด้วยความเร็ว 5 รอบต่อนาที ขับด้วยมอเตอร์ขนาด 2 แรงม้า และมีการปรับปรุง โครงสร้างในรูปแบบต่างๆ เช่น ออกแบบตัวเครื่องให้สามารถ ขับเคลื่อนด้วยคนเพื่อใช้ในแหล่งน้ำ ที่ไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง เป็นต้น
ด้านประสิทธิภาพสามารถถ่ายเทออกซิเจนลงน้ำได้ 0.9 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง และมีการพัฒนาให้ถ่ายเทออกซิเจนได้ 1.2 กิโลกรัมต่อแรงม้า-ชั่วโมง
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 2 ก.พ.2536 หลังจากเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่สนองพระราชดำริ ในการพัฒนากังหันน้ำ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยื่นขอรับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.2535 จึงนับว่าเป็นสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธย ของพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของไทย และครั้งแรกของโลก และถือว่าวันที่ 2 ก.พ.ของทุกปีเป็น “วันนักประดิษฐ์” นับแต่นั้นเป็นต้นมา
นอกจากนี้ “กังหันชัยพัฒนา” ยังได้รับรางวัลเหรียญทองจาก The Belgian Chamber of Inventor องค์กรทางด้านนวัตกรรมที่เก่าแก่ของเบลเยียม ภายในงาน “Brussels Eureka 2000” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

โครงการกังหันสูบน้ำศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน

โครงการกังหันสูบนํ้าศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการนี้ดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ โดยได้งบประมาณเป็นเงิน 905,000 บาท จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีระยะเวลา ดำเนินงานตั้งแต่สิงหาคม 2542 ถึงสิงหาคม 2543 เป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดยการนำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ
โครงการตั้งอยู่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา บนพื้นที่แปลงเกษตร บริเวณอ่างเก็บน้าห้วยเจ็ก, ห้วยน้าโจน และสระน้าซับอื่น ๆ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จำนวน 3 ระบบ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวอยู่บนเนินเขาลูกระนาด จึงมีศักยภาพพลังงานลมมีมากพอสำหรับระบบ สูบน้าด้วยกังหันลม โดยเลือกใช้เทคโนโลยีกังหันลมที่มีอยู่แล้วในเชิงพาณิชย์ภายในประเทศ กังหันลมที่ เลือกใช้เป็นแบบแกนนอน มีใบหลายใบ ติดตั้งบนเสาโครงถักสูง 18 เมตร จำนวน 3 ตัว เส้นผ่าศูนย์กลาง กังหัน 14 ฟุต ปั๊มน้าเป็นแบบลูกสูบระยะชัก 7 นิ้ว และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5นิ้ว เนื่องจากพลังงานลมไม่ มีช่วงเวลาที่แน่นอน จึงมีความจำเป็นต้องมีหอสูง 12 เมตรเพื่อกักเก็บน้าและจ่ายน้าไปสู่แปลงเกษตรที่ใช้ แบบหัวฉีด หรือแบบน้าหยด จากข้อมูลการวัดพลังงานลมบริเวณข้างเคียง พบว่า มีความเร็วลมเฉลี่ย ประมาณ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วันละ 13 ชั่วโมง ซึ่งกังหันลมรูปแบบที่เลือกใช้นี้สามารถสูบน้าได้เฉลี่ย วัน ละ 15-20 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ที่หัวยกน้ารวม 18 เมตร และได้กําหนดให้มีหอถังสูงเก็บน้าได้ร้อยละ 60 โดยปริมาตร จึงเลือกใช้หอถังสูงขนาดความจุ 12 ลูกบาศก์เมตร
รูปที่1 กังหันลมสูบน้าบริเวณอ่างเก็บน้าห้วยเจ็ก
รูปที่2 กังหันลมที่เหลืออยู่เพียงแพนหาง ในบริเวณโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ รูปที่ 3 กังหันลมสูบน้าริมอ่าง 10ใกล้ๆ กับพระตำหนักสามจั่ว ที่สภาพโดยรวมดี ใช้รดน้าต้นไม้รอบตำหนัก
เมื่อสำรวจโครงการ และสัมภาษณ์คุณวิรัตน์ จำลอง นายช่างเครื่องกล กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งดูแล กังหันลมข้างอ่างเก็บน้าห้วยเจ็ก (รูปที่ 7.29) จึงทราบว่าใช้งานไม่ได้มากว่า 1 ปี ขณะที่ใช้งานได้กังหันลมจะ สูบน้าเข้าแปลงข้าวโพดอย่างเพียงพอ ปัญหาที่พบได้แก่ เสียงดังเนื่องจากระบบหล่อลื่นของแบริ่งขาดการ
ซ่อมบำรุง เนื่องจากตัวกังหันอยู่สูงเกินไป ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อการปี นขึ้นไป หากสามารถเติม น้ามันหล่อลื่นจากด้านล่างเหมือนรถแมกโครได้ จะช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้
ยิ่งกว่านั้นขณะเดินทางอยู่โครงการส่วนพระองค์ พบเสากังหันลมที่คงเหลือไว้แต่แพนหาง (รูปที่ 2) กังหันสูบน้าที่สำรวจสองตัวสุดท้าย อยู่ริมอ่าง 10 (รูปที่ 3) ข้างตำหนักสามจั่ว เป็นกังหันที่มีสภาพโดยรวมดี ใช้ในการสูบน้ารดน้าต้นไม้รอบตำหนัก และกังหันสูบน้าริมห้วยน้าโจน (รูปที่ 4) ที่มีสภาพโดยรวมดี เช่นกัน กังหันลมทั้งสองรอเก็บข้อมูลผ่านโทรศัพท์อีกครั้ง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรม พัฒนาที่ดิน
รูปที่4 กังหันสูบน้าริมห้วยน้าโจน สำหรับสูบน้าเข้าสู่แปลงเกษตร

โครงการพระราชดำริหญ้าแฝก

ทฤษฎีการป้องกันการเสื่อมโทรมและพังทลายของดินโดยหญ้าแฝก พืชจากพระราชดำริ : กำแพงที่มีชีวิตในการอนุรักษ์และคืนธรรมชาติสู่แผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาการชะล้างพังทลายของดินและการสูญเสียหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ จึงทรงศึกษาถึงศักยภาพของ “หญ้าแฝก” ซึ่งเป็นพืชพื้นบ้านของไทย ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของหน้าดินและอนุรักษ์ความชุ่มชื้นใต้ดิน ซึ่งมีวิธีการปลูกแบบง่าย ๆเกษตรกรสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่ต้องให้การดูแลหลังการปลูกมากนัก ทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าวิธีอื่น ๆ อีกด้วย จึงได้พระราชทานพระราชดำริให้ดำเนินการศึกษาทดลองเกี่ยวกับหญ้าแฝก ลักษณะของหญ้าแฝก หญ้าแฝกมีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่าVetiver Grass มีด้วยกัน 2 สายพันธุ์ คือ หญ้าแฝกดอน (Vetiveria nemoralis A.Camus) และหญ้าแฝกหอม (Vetiveria zizanioides Nash) เป็นพืชที่มีอายุได้หลายปี ขึ้นเป็นกอแน่น มีใบเป็นรูปขอบขนานแคบปลายสอบแหลม ยาว 35-80 ซม.ส่วนกว้าง 5-9 มม.หญ้าแฝกจะมีการขยายพันธุ์ที่ได้ผลรวดเร็ว โดยการแตกหน่อจากลำต้นใต้ดิน ในบางโอกาสสามารถแตกแขนงและรากออกในส่วนของก้านช่อดอกได้ เมื่อหญ้าแฝกโน้มลงดินทำให้มีการเจริญเติบโตเป็นกอหญ้าแฝกใหม่ได้ การใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ 1.การปลูกเป็นแถวตามระดับขวางความลาดชัน เพื่อชะลอความเร็วของน้ำ และดักตะกอนดิน ส่วนน้ำจะไหลซึมลงไปสู่ดินชั้นล่างได้มากขึ้น เป็นการเพิ่ม ความชุ่มชื้นในดิน ส่วนรากหญ้าแฝกจะหยั่งลึกลงไปในดินอาจถึง 3 เมตร ซึ่งสามารถยึดดินป้องกันการพังทลายได้ 2.การปลูกเพื่อแก้ปัญหาการพังทลายของดินเป็นร่องน้ำลึก 3.การปลูกในพื้นที่ที่มีความลาดชัน โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคใต้ ให้ปลูกหญ้าแฝกเป็นแนวรั้วบริเวณคันคูขอบเขา หรือริมขั้นบันไดดินด้านนอก โดยควรปลูกเป็นแถวตามแนวขวางความลาดเทในต้นฤดูฝน 4.การปลูกเพื่อการอนุรักษ์ความชุ่มชื้นในดิน โดยปลูกแถวหญ้าแฝกขนานไปกับแถวของไม้ผล ปลูกแบบวงกลมรอบไม้ผล และปลูกแบบครึ่งวงกลมหงายรับน้ำฝน 5.การปลูกเพื่อป้องกันการเสียหายของขั้นบันไดดินหรือคันคูรับน้ำรอบเขา 6.การปลูกเพื่อป้องกันตะกอนดินทับถมลงสู่คลองส่งน้ำ ระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำในไร่นาตลอดจนปลูกรอบสระ หรือปลูกเป็นแถวขนานไปกับแม่น้ำ ลำคลองเพื่อกรองตะกอนดิน7.การปลูกเพื่อฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรม 8.การปลูกเพื่อป้องกันการพังทลายของไหล่ถนนที่ลาดชันสูง โดยปลูกหญ้าแฝกเพื่อยึดดินและเบี่ยงเบนทางน้ำไหลบริเวณไหล่ทาง และปลูกขวางแนวลาดเทเพื่อป้องกันการพังทลายและเลื่อนไหลของดิน 9.การปลูกในพื้นที่ดินดาน รากหญ้าแฝกสามารถหยั่งลึกลงไปในดินดาน ทำให้ดินแตกร่วนขึ้น และหน้าดินจะมีความชื้นเพิ่มขึ้น 10.การปลูกเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของสารพิษในแหล่งน้ำ รากหญ้าแฝกจะเป็นกำแพงกักกั้นดินและสารพิษที่ปะปนมากับน้ำไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่างและรากยังมีประสิทธิภาพในการดูดซับธาตุโลหะหนักและสารเคมีบางอย่างได้ดีกว่าพืชชนิดอื่น ประโยชน์เอนกประสงค์อื่น ๆ ของหญ้าแฝก 1.ปลูกหญ้าแฝกบนคันนา เพื่อให้คันนาคงสภาพอยู่ได้นาน 2.ปลูกหญ้าแฝกเพื่อใช้ประโยชน์มุงหลังคา ตับหลังคาที่ทำจากหญ้าแฝกสามารถผลิตจำหน่ายได้ ส่วนรากที่มีความหอมนั้นคนไทยรุ่นเก่าเคยนำมาแขวนในตู้เสื้อผ้าทำให้มีกลิ่นหอมและช่วยไล่แมลงที่จะทำลายเสื้อผ้าได้ 3.หญ้าแฝกมีสรรพคุณช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการท้องอืดเฟ้อ และแก้ไข้ได้ ส่วนรากสามารถนำมาสกัดทำน้ำมันที่มีประโยชน์และคุณค่าทางการค้าได้ อาทิเช่น ฝรั่งเศสผลิตน้ำหอมจากรากหญ้าแฝก ชื่อ “Vetiver” จากการดำเนินงานที่ทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันให้เป็นไปตามพระราชดำริ ทำให้มีผลการศึกษาและการปฏิบัติได้ผลอย่างชัดเจน จนเป็นที่ยอมรับจากธนาคารโลกว่า “ประเทศไทยทำได้ผลอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพยอดเยี่ยม” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 International Erosion Control Association(IECA) ได้มีมติถวายรางวัลThe International Erosion Control Association’s International Merit Award แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นแบบอย่างในการนำหญ้าแฝกมาใช้ในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งธนาคารโลก ได้นำคณะเข้าเฝ้า ทูลละอองธุลีพระบาททูลเกล้า ฯ ถวายแผ่นเกียรติบัตรเป็นภาพรากหญ้าแฝกชุบสำริด ซึ่งเป็นรางวัลสดุดีพระเกียรติคุณ (Award of Recognition) ในฐานะที่ทรงมุ่งมั่นในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำ และผลการดำเนินงานหญ้าแฝกในประเทศไทยได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลก ความอุดมสมบูรณ์ ของผืนแผ่นดินที่กลับคืนมานี้ เป็นเพราะพระวิริยะอุตสาหะและพระปรีชาญาณอันยาวไกลแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาหนทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยที่กำลังถูกทำลายไปอย่างรวดเร็วทั้งนี้เพื่อความมั่งคั่งสมบูรณ์พูนสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

โครงการฝนหลวง

โครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง"
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการฝน
หลวงว่า โครงการฝนหลวงนี้ได้มีพระราชดำริครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เท
วกุล ว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกเพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากที่ได้รับจากธรรมชาติ โดย
การนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์เข้ากับทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อให้เกิดมีศักยภาพในการสร้างฝน ด้วย
สายพระเนตรที่ยาวไกล และความอัจฉริยะของพระองค์ท่าน ซึ่งประกอบด้วยคุณลักษณะของนักวิทยา
ศาสตร์ จึงสังเกตวิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้นแล้วว่าจะทรงค้นหาวิธีการที่จะทำให้เกิดฝนให้ได้
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์
เทวกุล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรวิศวกรรมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษาแนวทางในการ
ค้นคว้าทดลอง จึงได้มีการจัดตั้ง "โครงการค้นคว้าทดลองการทำฝนเทียม" ขึ้นในปี พ.ศ. 2512 และได้
มีการวิจัยและพัฒนาวิธีการทำฝนเทียมอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุด ได้ค้นพบวิธีการทำฝนเทียมแบบใหม่
เป็นกรรมวิธีของประเทศไทยโดยเฉพาะ ซึ่งแตกต่างจากวิธีปฏิบัติที่ใช้ในต่างประเทศ
ความสำคัญของ "ฝนหลวง"
ฝนหลวงนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นประโยชน์สำหรับแหล่งน้ำที่จำเป็นต้องใช้ในการเพาะปลูกสำหรับ เกษตรกรในสภาวะแห้งแล้งเท่านั้น หากรวมถึงการเพิ่มปริมาณน้ำในแหล่งกักเก็บขนาดใหญ่ ให้มีสภาพสมบูรณ์เก็บไว้ใช้ตลอดปีอีกด้วย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะใต้ดินมีแหล่งหินเกลือครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ซึ่งถ้าน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กและขนาดกลางไม่มีทางระบายออก หากมีปริมาณน้ำเหลือน้อย น้ำจะกร่อยหรือเค็มได้
นอกจากนั้นในภาวะการขาดแคลนน้ำ ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำลดต่ำลง จนบางแห่งไม่สามารถใช้สัญจร
ไปมาทางเรือได้ การทำฝนหลวงจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำให้กับบริเวณดังกล่าว ทำให้สามารถใช้สัญจรได้
ดังเดิม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะในแม่น้ำบางสายถือเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าที่สำคัญ นอกจากนั้น การขนส่งทางน้ำยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางอื่นอีกด้วย
น้ำจากน้ำฝนยังมีส่วนช่วยอย่างมากในการผลักดันน้ำเค็มจากอ่าวไทย หากน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้อยลงเมื่อใด น้ำเค็มจากทะเลอ่าวไทยก็จะไหลหนุนเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดน้ำกร่อยขึ้น สร้างความเสียหายแก่การเกษตร และการอุปโภค บริโภคของการประปาของคนกรุงเทพฯ เป็นจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ เพื่อผลักดันน้ำเค็มมิให้หนุนเข้ามาทำความเสียหายต่อการอุปโภค บริโภคหรือเกษตรกรรม
นอกจากนั้น "ฝนหลวง" ยังได้บรรเทาภาวะสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการะบายน้ำเสียลงสู่แม่น้ำเจ้า
พระยาและขยะมูลฝอยที่ผู้คนทิ้งลงในสายน้ำกันอย่างมากมายนั้น ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะช่วยผลัก
ดันออกสู่ท้องทะเล ทำให้มลพิษจากน้ำเสียเจือจางลดลงซึ่งสังเกตเห็นได้ชัดเจนมากจากขยะมูลฝอย
และกระแสน้ำเสียต่างสีในบริเวณปากน้ำจนถึงเกาะล้าน เมืองพัทยา ในขณะที่บ้านเมืองของเราพัฒนาไป การใช้พลังงานไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้นทุกขณะ สืบเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปัญหาการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าเนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าในปริมาณสูง จึงเป็นที่หวั่นเกรงว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ ในสภาวะวิกฤตที่ระดับน้ำเหนือเขื่อนมีระดับต่ำมากจนไม่เพียงพอต่อการใช้พลังน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าส่งให้ผู้ใช้ได้อย่างทั่วถึง ซึ่งฝนหลวงสามารถช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนซึ่งใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า จึงนับได้ว่า โครงการฝนหลวงเป็นพระราชดำริที่ทรงคุณค่าอเนกอนันต์ยิ่งนักกรรมวิธีในการทำฝนหลวงแนวความคิดในการสร้างน้ำฝน คือเมื่ออากาศร้อนลอยตัวสูงขึ้น พบกับมวลอากาศที่มีความชื้นและเย็นจะทำให้เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน การทำฝนหลวงที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันใช้วิธีการ
โปรยสารเคมีทางเครื่องบินตามสภาวะต่าง ๆ ซึ่งเป็นวิธีตามแบบไทย เพื่อให้เกิดสภาพที่จะสร้างเป็นฝน
ได้ โดยขั้นตอนแรกจะเป็นการรวบรวมไอน้ำในบรรยากาศให้รวมตัวเป็นเมฆ จากนั้น จึงสร้างเมฆให้มี
ขนาดใหญ่ขึ้น หรือ "เลี้ยง" ให้เจริญเติบโต จนขั้นสุดท้ายจึงเป็นการโจมตีกลุ่มเมฆเหล่านั้นให้ตกเป็น
ฝนในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย ซึ่งกรรมวิธีดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระมหากรุณาธิคุณ
พระราชทานขั้นตอนการดำเนินงานไว้ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน (สร้างเมฆให้ก่อตัวขึ้น)
การก่อกวน เป็นขั้นตอนแรกของการสร้างฝนเทียม เพื่อให้เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง โดยการใช้สารเคมีไปกระตุ้นมวลอากาศทางด้านเหนือของลมของพื้นที่เป้าหมายให้เกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบนรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเมฆ เพื่อให้เกิดกระบวนการรวมไอน้ำ หรือความชื้นเข้าสู่ระดับการเกิดก้อนเมฆ ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นเมฆก้อนใหญ่ต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน (เร่งและช่วยให้เมฆรวมตัวกันมากขึ้น)
การเลี้ยงให้อ้วน เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโต ซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมากในการปฏิบัติการ
ฝนหลวง จึงใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีและประสบการณ์ผสานกลยุทธ์ในเชิงศิลปะแห่งการทำฝนหลวง
ควบคู่ไปพร้อมกัน เพื่อตัดสินใจในการกำหนดสารเคมีฝนหลวงที่จะโปรยในกลุ่มก้อนเมฆ หรือ ปริมาณ
การโปรยที่เหมาะสม มิฉะนั้นแล้ว จะทำให้เมฆสลายตัวได้ สารเคมีที่โปรยจะเป็นสารที่ดูดซับความชื้น
ได้ดี ทำให้เม็ดน้ำในก้อนเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้น ในขั้นตอนนี้ผลจากสารเคมีที่โปรยจะทำให้เกิดการไหล
เวียนของกระแสอากาศ ทำให้เกิดการรวมตัวของเม็ดน้ำ ซึ่งการก่อตัวของเมฆที่ระดับความสูงต่างกัน
ทำให้เกิดเมฆต่างกัน โดยเมฆไม่สามารถก่อยอดไปถึงระดับจุดเยือกแข็ง หรือที่ความสูงประมาณ
18,000 ฟุต จะเรียกว่า "เมฆอุ่น" และที่ระดับ 20,000 ฟุต จะเรียกว่า "เมฆเย็น"
ขั้นตอนที่ 3 โจมตี (บังคับให้เมฆเกิดเป็นสายฝน)
เมื่อกลุ่มเมฆมีความหนาแน่นมากเพียงพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้ ก็จะเข้าสู่กระบวนการ "โจมตี" การปฏิบัติในขั้นตอนนี้มีจุดหมาย 2 ประการ คือ เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน โดยภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย สังเกตได้ถ้าหากเครื่องบินเข้าไปในกลุ่มเมฆนี้แล้ว จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้าของเครื่องบิน ดังนั้นขั้นตอนสุดท้ายนี้จึงความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากก้อนเมฆที่ก่อตัวขึ้นลักษณะที่ต่างกัน ดังนั้นการโจมตีจึงต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของก้อนเมฆ ในการโจมตีเมฆอุ่น จะใช้วิธีที่เรียกว่าแซนด์วิช ซึ่งจะใช้เครื่องบินสองลำ โดยเครื่องบินลำแรกจะโปรยผงโซเดียมคลอไรด์ที่ระดับ 9,000 ถึง 10,000 ฟุต และเครื่องบินอีกลำจะโปรยผงยูเรียและน้ำแข็งแห้งที่ฐานเมฆ สำหรับการโจมตีเมฆเย็น มีวิธีการอยู่สองวิธี คือแบบธรรมดา และแบบซูเปอร์แซนด์วิช การโจมตีแบบธรรมดาจะใช้เครื่องบินเพียงลำเดียว ยิงพลุสารเคมี ซิลเวอร์ไอโดไดด์ เข้าสู่ยอดเมฆที่ ระดับ 21,500 ฟุต อนุภาคของซิลเวอร์ไอโอไดด์ซึ่งจะเป็นแกนเยือกแข็งให้ไอน้ำเกาะ และยกตัวสูงขึ้นส่งผลให้เกิดการชักนำอากาศชื้นเข้าสู่ฐานเมฆเพิ่มขึ้น เม็ดน้ำที่เกาะกันเข้ากับผลึกน้ำแข็งก่อตัวกลายเป็นก้อนน้ำแข็งที่มีน้ำหนักมากขึ้นล่วงหล่นสู่เบื้องล่าง ซึ่งจะละลายเป็นเม็ดฝนเมื่อผ่านมาที่ฐานเมฆ
สำหรับการโจมตีแบบซูเปอร์แซนด์วิชจะเป็นการผสมผสานการโจมตีของทั้งการโจมตีเมฆอุ่นและการ
โจมตีเมฆเย็นแบบธรรมดาเข้าด้วยกัน ในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีการนี้ จะให้มีประสิทธิภาพในการเพิ่ม
ปริมาณน้ำฝนสูงยิ่งขึ้น


การเพิ่มปริมาณฝน
การเร่งการตกของฝนและเพิ่มปริมาณน้ำฝน ทำได้โดยการโปรยเกล็ดน้ำแข็งแห้งที่ใต้ฐานเมฆ เกล็ด
ของน้ำแข็งแห้งจะมีอุณหภูมิต่ำมาก ทำให้บรรยากาศระหว่างเมฆกับพื้นดินเย็นลง ส่งผลให้ฐานเมฆลด
ระดับต่ำลง ซึ่งจะเกิดฝนในทันทีหรือทำให้ปริมาณฝนตกเพิ่มมากยิ่งขึ้น และตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน
รวมทั้งยังมีความหนาแน่นยิ่งขึ้น
สารเคมีในการทำฝนหลวง
สารเคมีที่ใช้ทำฝนหลวงทุกชนิดได้ผ่านการวิเคราะห์ทดลอง และคัดเลือกแล้วว่าไม่มีพิษตกค้างที่เป็น
อันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสภาพแวดล้อม ในปัจจุบันสารเคมีที่ใช้มีทั้งหมดอยู่ 8 ชนิด
ซึ่งมีลักษณะเป็นทั้งแบบผงและสารละลาย คุณสมบัติโดยทั่วไปของสารเคมีที่ใช้จะเป็นสารที่ดูดซับ
ความชื้นได้ดี และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือความชื้น นอกจากนั้นยังมี
คุณสมบัติเป็นแกนสำหรับการกลั่นตัวของเม็ดน้ำในอากาศซึ่งจะทำให้เกิดเป็นฝนในการทำฝนหลวง
เครื่องบินในโครงการฝนหลวง เครื่องบินนับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างมากสำหรับการทำฝนหลวง เพราะ
นอกจากจะต้องใช้เครื่องบินในการวิจัยแล้ว ยังต้องใช้เครื่องบินในการโปรยสารเคมีตามกระบวนการต่าง
ๆ เพื่อทำให้เกิดฝน ดังนั้นสมรรถนะของเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็นระวางในการบรรทุกสารเคมี ความเร็วใน
การบินไต่ระดับ ความสูงของเพดานบิน ระยะทางในการบิน และความสมบูรณ์ของเครื่องมือและอุปกรณ์
การบิน จึงมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำฝนหลวง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรับถึงความยากลำบากและการเสี่ยงอันตรายจากการทำฝน
หลวง เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ดังนี้ ".....แต่มีวิธีที่จะทำได้เพื่อบรรเทาสถานการณ์ เช่น ทำฝน
เทียม หมายความว่า ความชื้นที่ผ่านเหนือเขต เราดักเอาไว้ให้ลงได้ ปีนี้ได้ทำมากพอใช้ ทำเป็นเวลา
ต่อเนื่องกันไปประมาณเกือบ 3 เดือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่ทำนั้นต้องเหน็ดเหนื่อยมาก เพราะว่าเครื่องบินก็มี
น้อย อุปกรณ์ก็มีน้อย เจ้าหน้าที่ที่ทำฝนเทียมนั้นต้องเสี่ยงอันตรายมาก เพราะเครื่องบินที่มีอยู่ก็เก่าแล้ว
และชำรุดบ่อย...."
เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็น
การปฏิบัติการฝนหลวงคงจะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพถ้าปราศจากเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยในการค้นคว้าวิจัย และการปฏิบัติงาน เครื่องมือที่สำคัญที่สุดเห็นจะเป็นเครื่องมือทางอุตุนิยมวิทยา เพื่อใช้ในการศึกษาสภาพอากาศนอกเหนือไปจากแผนที่อากาศและภาพถ่ายดาวเทียมที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมอุตุนิยมวิทยาแล้ว ยังต้องมีเครื่องมืออื่น ๆ ในการตรวจวัดสภาพอากาศ ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องวัดลมชั้นบน ซึ่งจะเป็นตัวบอกทิศทางและความเร็วของลม เครื่องวิทยุหยั่งอากาศ ซึ่งจะบอกถึงอุณหภูมิและความชื้นของบรรยากาศในชั้นต่าง ๆ
เรดาห์ตรวจอากาศ ซึ่งมีทั้งแบบติดตั้งบนรถยนต์และแบบติดตั้งตายตัวที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการสั่งการผ่านซอฟต์แวร์เฉพาะสำหรับการตรวจอากาศ และนี่เอง ทำให้คอมแพคได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้โครงการนี้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ด้วยการวางระบบเครื่องแม่ข่าย คอมแพค อัลฟ่าเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งใช้ในการเก็บบันทึกรวบรวมข้อมูลกลับมาแสดงใหม่จากเทปบันทึกในรูปแบบที่ทันสมัย สะดวกและรวดเร็ว จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้คณะปฏิบัติการฝนหลวงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น สามารถที่จะทราบความเคลื่อนไหวของกลุ่มเมฆต่าง ๆ และเมฆกลุ่มใดที่ต้องการจะทำฝน ตลอดจนทำฝนที่ใดและสามารถคำนวณปริมาณน้ำฝนในก้อนเมฆได้ว่ามีค่าเท่าใด ควรจะใช้สารสูตรใด ปริมาณเท่าใดเหล่านี้เป็นต้น ซึ่งถึงปัจจุบันเครื่องของคอมแพคก็ทำงานอยู่ในโครงการนี้มานานเป็นเวลาหลายสิบปีแล้ว เครื่องมือตรวจวัดอากาศที่ผิวพื้นต่าง ๆ เช่นเครื่องวัดอุณหภูมิ เครื่องวัดความเร็ว และทิศทางลม และเครื่องวัดปริมาณน้ำฝน เป็นต้น
และนี่คือ "โครงการพระราชดำริฝนหลวง" หนึ่งในโครงการที่เราคนไทยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นแรงบันดาลใจ ให้เราคนไทยได้ตระหนักถึงการรังสรรค์คุณ
ประโยชน์เพื่อประเทศชาติ

โครงการธนาคารข้าว

โครงการธนาคารข้าว
ความเป็นมา เนื่องด้วยลักษณะภุมิประเทศบริเวณพื้นที่ชายแดนภาคเหนือของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชันและเป็นท้องถิ่นทุรกันดารราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรซึ่งมีพื้นที่ดำเนินการจำกัด ประกอบกับบ่อยครั้งที่ต้องประสบภัยทางธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหายอยู่เสมอ อันเป็นผลให้ราษฎร ต้องขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภคในบางปีเหตการณ์เหล่านี้พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัวฯได้ทรงรับทราบและทรงมีความห่วงใยพสกนิกร ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติเป็นอย่างยิ่งพระองค์ทรงมีพระราชดำริในชั้นต้น เพื่อหาแนวทางที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรเหล่านั้น จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้รีบดำเนินการช่วยเหลือโดย การจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวขึ้นในหมู่บ้านที่ประสบภัยดังกล่าวขึ้น
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง
- เพื่อให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
- เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบทุพภิกขภัยในถิ่นทุรกันดาร
- เพื่อให้ราษฎรผู้ประสบภัยมีข้าวพอเพียงต่อการบริโภคตลอดปี
- เพื่อป้องกันผู้ฉวยโอกาสที่จะเข้าแสวงหาผลประโยชน์อันไม่เป็นธรรมแก่ราษฎรผู้ประสบภัยซึ่งยากจนและขาดแคลนข้าวเพื่อบริโภค
- เพื่อเป็นพื้นฐานให้ราษฎรได้เข้าใจหลักการเบื้องต้นของระบบสหกรณ์ซึ่งจะได้ดำเนินการที่สมควรต่อไป
- เพื่อสร้างเสริมอุปนิสัยของราษฎรผู้ประสบภัยให้รู้จักอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย โดยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคมและผู้อื่น อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ราษฎรมีความขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ
- เพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างราษฎรกับเจ้าหน้าที่
- เพื่อเป็นการช่วยเหลือราษฎรให้รู้จักประหยัดทรัพย์

หลักการตั้งโครงการธนาคารข้าว
- จัดตั้งในหมู่บ้านที่มีประชาชนร้องขอหรือทราบว่าราษฎรขาดแคลนเพื่อบริโภคและไม่สามารถดำเนินการจัดหาข้าว เพื่อบริโภคในหมู่บ้านได้เพียงพอ
- ไม่จัดตั้งซ้ำซ้อนหรือใกล้เคียงกับหมู่บ้านที่มีการจัดตั้งโครงการธนาคารข้าวของหน่วยงานอื่นที่ได้ดำเนินการอยู่
- พิจารณาพื้นที่ที่จัดตั้งโดยคำนึงถึงประโยชน์ที่จะได้รับต่อหมู่บ้านบริวาร
- ดำเนินการจัดตั้งในหมู่บ้านที่มีความปลอดภัยในการควบคุมและติดตามผล
-ไม่เป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้าย ปัจจุบันกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 33มีธนาคารข้าวในความรับผิดชอบ จำนวน 20 แห่ง โดยเริ่มจัดตั้งครั้งแรกในวันที่ 3 กันยายน 2514 ณ บ้านห้วยหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ การดำเนินการได้ติดตามผลการปฏิบัติทุกรอบเดือน ราษฎรได้กู้ยืมข้าว โดยมีคณะกรรมการในหมู่บ้านเป็นผู้ดำเนินการการดำเนินการที่ผ่านมาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่อันเนื่องมาจากพระราชดำริ



โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ความเป็นมา
ในทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศนั้นได้ทรงถามเกษตรกรและทอดพระเนตรพบสภาพปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการปลูกข้าวและเกิดแรงดลพระทัยอันเป็นแนวคิดขึ้นว่า
-ข้าวเป็นพืชที่แข็งแกร่งมาก หากได้น้ำเพียงพอจะสามารถเพิ่มเมล็ดข้าวได้มากยิ่งขึ้น
-หากเก็บน้ำในที่ตกลงมาได้แล้ว นำมาใช้ในการเพาะปลูกก็จะสามารภเก็บเกี่ยวได้มากขึ้นเช่นกัน
-การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นับวันแต่จะยากที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากการขยายตัวของชุมชนและข้อจำกัดของปริมาณที่ดินเป็นอุปสรรค
-หากแต่ละครัวเรือนมีสระนำประจำไร่นาทุกครัวเรือนแล้ว เมื่อรวมปริมาณกันก็ย่อมเท่ากับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ๋ แต่สิ้นค่าใช้จ่ายน้อยและเกิดประโยชน์สูงสุดโดยตรงมากกว่า ที่มาแห่งพระราชดำริ “ทฤษฎีใหม่” แรงดลพระราชหฤทัยในเรื่องนี้เกิดจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในภาคอีสาน บริเวณพื้นที่บ้านกุตตอแก่น ตำบลกุตสิมคุ้มใหญ่ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธิ์ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ.2535 ซึ่งทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำรัสแก่บรรดาคณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม 2535
ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรดา พระราชวังดุสิต ว่า
“...ถามชาวบ้านที่อยู่นั่นว่าเป็นอย่างไรบ้างปีนี้ เขาบอกว่าเก็บข้าวได้แล้วข้าวก็อยู่ตรงนั้นกองไว้เราก็ไปดูข้าว ข้าวนั้นมีรวงจริงแต่ไม่มีเมล็ดหรือรวงหนึ่งมีซักสองสามเมล็ด ก็หมายความว่า 1 ไร่ คงได้ข้าวประมาณซักถังเดียวหรือไม่ถึงถังต่อไร่ ่เขาทำไมเป็นอย่างนี้ เขาบอว่าเพราะไม่มีฝนเขาปลูกกล้าไว้แล้วเมื่อขึ้นมาก็ปักดำ ปักดำไม่ได้เพราะว่าไม่มีน้ำ ก็ปักในทรายทำรู ในทรายแล้วก็ปักลงไป เมื่อปักแล้วตอนกลางวันก็เฉามันงอลงไป แต่ตอนกลางคืนก็ตั้งตัวตรงขึ้นมาเพราะมีน้ำค้าง และในที่สุด ก็ได้รวงแต่ไม่มีข้าว ข้าวเท่าไร อันนี้เป็นบทเรียนที่ดี...แสดงให้เห็นว่าข้าวนี้เป็นพืชแข็งแกร่งมากขอให้ได้มีน้ำค้างก็พอ แม้จะเป็น ข้าวธรรมดา ไม่ใช่ข้าวไร่ ถ้าหากว่าเราช่วยเขาเล็กน้อยก็สามารถที่จะได้ข้าวมากขึ้นหน่อยพอที่จะกิน ฉะนั้นโครงการ ที่จะทำมิใช่ต้องทำโครงการใหญ่โตมากจะได้ผล ทำเล็กๆก็ได้ จึงเกิดความคิดขึ้นมาว่าในที่เช่นนั้นฝนตกดีพอสมควร แต่ลงมาไม่ถูกระยะเวลา...ฝนก็ทิ้งช่วง...” จากพระราชดำรัสข้างต้นแสดงให้เห็นถึงการที่ทรงรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากปัญหาข้อเท็จจริงแล้วทรงวิเคราะห์เป็นแนวคิดทฤษฏีว่า
“...วิธีการแก้ไขก็คือต้องเก็บน้ำฝนที่ตกลงมา ก็เกิดความคิดว่าอยากทดลองดูสัก 10 ไร่ ในที่อย่างนั้น 3 ไร่ จะเป็นบ่อน้ำ คือเก็บน้ำฝนแล้ว ถ้าจะต้องบุด้วยพลาสติกก็บุด้วยพลาสติกทดลองดูแล้ว อีก 6 ทำไร่ทำเป็นที่นา ส่วนไร่ที่เหลือก็็เป็นบริการหมายถึงทางเดินหรือกระต๊อบหรืออะไรก็ได้แล้วแต่หมายความว่า น้ำ 30 % ที่ทำนา 60 % ก็เชื่อว่าถ้าเก็บน้ำไว้ได้จากเดิมที่ เก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละ ประมาณ 1-2 ถัง ถ้ามีน้ำเล็กน้อยอย่างนั้นก็ควรจะเก็บเกี่ยวข้าวได้ไร่ละประมาณ 10 -20 ถังหรือมากกว่า ” ในเวลาต่อมาได้พระราชทานพระราชดำรัสให้ทำการทดลอง “ทฤษฎีใหม่” เกี่ยวกับการจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขึ้น ณ วัดมงคลชัยพัฒนา ตำบลห้วยบง อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี แนวทฤษฎีใหม่ กำหนดขึ้นดังนี้ ให้แบ่งพื้นที่ถือครองทางการเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วเกษตรกรไทยมีเนื้อที่ดินประมาณ 10-15 ไร่ ต่อครอบครัวแบ่งออกเป็นสัดส่วน คือ
ส่วนแรก : ร้อยละ 30 เนื้อที่เฉลี่ย 3ไร่ ให้ทำการขุดสระกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก โดยมีความลึกประมาณ 4 เมตร ซึ่งจะสามารถรับน้ำได้จุถึง 19,000 ลูกบาศก์เมตร โดยการรองรับจากน้ำฝน ราษฎรจะสามารถน้น้ำนี้ไปใช้ได้ตลอดปี ทั้งยังสามารถเลี้ยงปลาและปลูกพืชริมสระเพื่อเพิ่มรายได้ให้ครอบครัวอีทางหนึ่งด้วยดังพระราชดำรัสในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการพัฒนาพื้นที่วัดชัยมงคลพัฒนาอังเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2536 ความตอนหนึ่งว่า
“...การเลี้ยงปลาเป็นรายได้เสริม ถ้าเลี้ยงปลาไม่กี่เดือนก็มีรายได้...”
ส่วนที่สอง : ร้อยะ 60 เป็นเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 10ไร่ เป็นพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชผลต่างๆโดยบี่งพื้นที่นี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ
ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ทำนาข้าวประมาณ 5 ไร่
ร้อยละ 30 ในส่วนที่สอง ปลูกพืชไร่หรือพืชสวนตามแต่สภาพของพื้รที่และภาวะตลาดประมาณ 5 ไร่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวนโดยใช้หลักเกณฑ์เฉลี่ยว่าในพื้นที่ทำการเกษตรนี้ต้องมีน้ำใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ ถ้าหากแบ่งแต่ละแปลงเกษตรให้มีเนื้อที่ 5 ไร่ ทั้ง 2 แห่งแล้ว ความต้องการน้ำจะใช้ประมาณ 10,000 ลูกบาศก์เมตร ที่จะต้องเป็นน้ำสำรองไว้ใช้ในยามฤดูแล้ง
ส่วนที่สาม : ร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่เหลือมีเนื้อที่เฉลี่ยประมาณ 2 ไร่ จัดเป็นที่อยู่อาศัย ถนนหนทาง คันคูดินหรือคูคลอง ตลออดจนปลูกพืชสวนครัวและเลี้ยงสัตว์ รวมพื้นที่โดยเฉลี่ยประมาณ 15 ไร่ ตามสัดส่วน 30 – 30 – 30 – 30 – 10 ตามทฤษฎีใหม่นี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแนวพระราชดำริอันเป็นหลักปฏิบัติสำคัญยิ่งในการดำเนินการ คือ
- วิธีนี้สามารถใช้ปฏิบัติได้กับเกษตรกรผู้เกป็นเจ้าของที่ดิน ที่มีพื้นที่ดินจำนวนน้อย แปลงเล็กๆ ประมาณ 15 ไร่(ซึ่งเป็นอัตราถือครองเนื้อที่การเกษตรโดยเฉลี่ยของเกษตรกรไทย)
- มุ่งให้เกษตรกรมีความพอเพียงในการเลี้ยงตัวเองได้ (self sufficiency) ในระดับชีวิตที่ประหยัดก่อนโดยมุ่งเน้นให้เห็นความสำคัญของความสามัคคีกันในท้องถิ่น
- กำหนดจุดมุ่งหมายให้สามารถผลิตข้าวบริโภคได้เพียงพอตลอดทั้งปี โดยยึดหลักว่าการทำนา 5 ไร่ ของครอบครัวหนึ่งนั้นจะมีข้าวพอกินตลอดปีซึ่งเป็นหลักสำคัญของทฤษฎีใหม่นี้
ทฤษฎีใหม่ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเป็นทฤษฎีที่สมบูรณ์ตามแนวพระราชดำริได้นั้น ทรงคำนึงถึงการระเหยของน้ำในสระหรืออ่างเก็บน้ำลึก 4 เมตร ของเกษตรการด้วยว่าในแต่ละวันที่ไม่มีฝนตกคาดว่าน้ำระเหยวันละ 1 เซนติเมตร ดังนั้นเมื่อเฉลี่ยว่าฝนไม่ตกปีละ300 วันนั้นระดับน้ำในสระลดลง 3 เมตร จึงควรมีการเติมน้ำให้เพียงพอเนื่องจากน้ำเหลือก้นสระเพียง 1 เมตรเท่านั้น
ดังนั้น การมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อคอยเติมน้ำในสระเล็ก จึงเปรียบเสมือนมีแท้งค์น้ำใหญ่ๆ ที่มีน้ำสำรองที่จะคอยเติมน้ำอ่างเล็กให้เต็มอยู่เสมอ จะทำให้แนวทางปฏิบัติสมบูรณ์ขึ้นสระน้ำที่ราษฎรขุดขึ้นตามทฤษฎีใหม่นี้เมื่อเกิดช่วงขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง ราษฎรสามารถสูบน้ำมาใช้ประโยชน์ได้และหากน้ำในสระไม่เพียงพอก็ขอรับน้ำจากอ่างห้วยหินขาว ซึ่งได้ทำระบบส่งน้ำเชื่อมต่อลงมายังสระน้ำที่ได้ขุดไว้ในแต่ละแปลงซึ่งจะช่วยให้มีน้ำใช้ตลอดปี ในกรณีราษฎรใช้น้ำกันมากอ่างห้วยหินขาวก็อาจมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ หากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักสมบูรณ์แล้วก็ใช้วิธีการสูบน้ำจากป่าสักมาพักในหนองน้ำใดหนองน้ำหนึ่ง แล้วสูบต่อลงมาในอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวก็จะช่วยให้มีปริมาณน้ำใช้มาพอตลอดปี ทรงเชื่อมั่นในทฤษฎีนี้มาก ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า
“...ให้ค่อยๆทำเพิ่มเติม ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น แล้วทีหลังในเขตนอกเหนือจาก 3,000 ไร่ เมื่อมาเห็นว่าทำได้ก็เชื่อแล้วนำไปทำบ้างแต่ต้องไม่ทำเร็วนัก บริเวณนี้ก็จะสนับสนุนได้ 3,000 ไร่ ช่วงเขาบอกได้ 700 ไร่ แต่ทฤษฎีของเราได้ 3,000 ไร่...”

โครงการแก้มลิง

โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
พระราชดำริ
สืบเนื่องจากวิกฤตการณ์น้ำท่วมอย่างรุนแรงใน พ.ศ. 2538 อันเป็นผลที่เกิดจากฝนตกหนัก ในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและตอนล่าง ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลาก ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งเกิดสภาวะน้ำท่วมขังในพื้นที่หลายจังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เป็นระยะเวลานานกว่า 2 เดือน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยประชาชนที่ได้รับความ เดือดร้อนจากสภาวะน้ำท่วม ที่เกิดขึ้น จึงทรงศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งได้พระราชทานแนวทางดำเนินการเป็นระยะ ๆ ตลอดช่วงวิกฤตการณ์ เพื่อให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องไปช่วยเหลือทั้งปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าและการวางแผนแก้ไขปัญหาระยะสั้นและระยะยาว โดยมีกรมชลประทานเป็นหน่วยงานหนึ่งที่สนองแนวพระราชดำริในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยพระปรีชาสามารถ อันล้ำเลิศ กอปรกับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ จึงบังเกิดเป็นโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ "โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา" โครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีลักษณะงานเป็นการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบนให้ไหลไปตามคลองในแนวเหนือ-ใต้ลงคลองพักน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่บริเวณชายทะเล ซึ่งเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำกว่าระดับน้ำในคลองก็จะระบายน้ำจากคลองดังกล่าวออกทางประตูระบายน้ำ โดยวิธีใช้แรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) และสูบน้ำออกเพื่อให้น้ำในคลองพักน้ำที่มีระดับต่ำที่สุด ซึ่งจะทำให้น้ำจากคลอง ตอนบนไหลลงสู่คลองพักน้ำได้ตลอดเวลาแต่เมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่าระดับน้ำในคลองก็จะปิดประตูระบายเพื่อไม่ให้น้ำไหล ย้อนกลับ
แนวทางโครงการแก้มลิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัส อธิบายว่า "ลิงโดยทั่วไป ถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงก็จะรีบปอก แล้วเอาเข้าปากเคี้ยวๆ แล้วเอาไปไว้ที่แก้ม ลิงจะเอากล้วยเข้าไปไว้ ที่กระพุ้งแก้มได้เกือบทั้งหวี โดยเอาไปเก็บไว้ในแก้มก่อน แล้วจึงนำออกมาเคี้ยวบริโภคและกลืนกินเข้าไปภายหลัง" ด้วยพฤติกรรมการนำเอากล้วยหรืออาหารมาสะสมไว้ที่กระพุ้งแก้มก่อนการกลืนกินนี้จึงเป็นพฤติกรรมตัวอย่างที่จะนำ มาใช้ในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังบริเวณด้านฝั่งตะวันออกและด้านฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
จากแนวพระราชดำริข้างต้น กรมชลประทานได้ดำเนินการศึกษาและพิจารณากำหนดรูปแบบของโครงการแก้มลิงออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา
จะรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร มาตามคลองสายต่าง ๆ ไปลงคลองชายทะเล เพื่อระบายน้ำลงสู่ทะเลทางจังหวัดสมุทรปราการ
ลักษณะงานประกอบด้วย งานขุดลอกคลอง งานกำจัดวัชพืช งานก่อสร้างและปรับปรุงสถานีสูบน้ำ งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ และงานปรับปรุงบำรุงคันกั้นน้ำซึ่งกรมชลประทานได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้ว ได้แก่ - งานขุดลอกคลองในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือ รังสิตใต้ คลองด่าน และพระองค์ไชยานุชิตจำนวน 60 สาย ความยาว 557.12 กิโลเมตร
- งานกำจัดวัชพืชในทุกโครงการมีการขุดลอกจำนวน 41 สาย ความยาว 520.94 กิโลเมตร
- งานก่อสร้างและปรับปรุงสถานสูบน้ำ รวม 11 แห่ง
- งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ 3 แห่ง
- งานปรับปรุงคันกั้นน้ำ 2 แห่ง
โครงการแก้มลิงในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา
จะรับน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นครปฐม กรุงเทพมหานคร และสมุทรสาคร ไปลงคลองมหาชัย-คลองสนามชัยและแม่น้ำท่าจีน เพื่อระบายออกสู่ทะเลด้านจังหวัดสมุทรสาคร
ลักษณะงาน ประกอบด้วย งานขุดลอกคลอง งานกำจัดวัชพืช งานก่อสร้างประตูระบายน้ำ พร้อมติดตั้งสถานีสูบน้ำ ได้แก่
- งานขุดลอกคลองในเขตโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเจ้าเจ็ดบางยี่หน พระยาบรรลือ พระพิมลและภาษีเจริญจำนวน 51 สาย ความยาว 278.64 กิโลเมตร
- งานกำจัดวัชพืชในทุกโครงการที่มีการขุดลอกจำนวน 31 สาย ความยาว 329.56 กิโลเมตร
- งานก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมติดตั้งสถานีสูบน้ำ จำนวน 5 แห่ง
โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" ประกอบด้วยการก่อสร้างประตูระบายน้ำปิดกั้นคลองต่าง ๆ พร้อมสถานีสูบน้ำตามความจำเป็นและก่อสร้างระบบให้เชื่อมกับโครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง"
โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ประกอบด้วยงานก่อสร้างประตูระบายน้ำพร้อมด้วยสถานีสูบน้ำขนาดใหญ่ในแม่น้ำท่าจีน บริเวณเหนือที่ตั้งจังหวัดสมุทรสาคร ขึ้นไปไม่มากนัก เพื่อทำหน้าที่ควบคุมน้ำในแม่น้ำท่าจีน โดยเปิดระบายน้ำให้ไหลลงสู่อ่าวไทย เมื่อน้ำทะเลมีระดับต่ำกว่า ระดับ น้ำในแม่น้ำ และจะปิดกั้นไม่ให้น้ำด้านท้ายไหลย้อนกลับเข้าไปในแม่น้ำเมื่อน้ำทะเล มีระดับสูง ขณะเดียวกันก็เร่งระดม สูบ ระบายน้ำ ออกสู่อ่าวไทยโดยสถานีสูบน้ำ
การดำเนินงานโครงการ
งานขุดลอกและกำจัดวัชพืชในเขตโครงการชลประทานทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2538 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2539
งานก่อสร้างและปรับปรุงระบบระบายน้ำในเขตพื้นที่สองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2538 แล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2539
โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท ที่ปรึกษาเพื่อศึกษาวางโครงการผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำรวจ-ออกแบบแล้วเมื่อเดือนกันยายน 2539 มีกำหนดระยะเวลาการศึกษา 1 ปี
โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง" ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเมื่อเดือนกันยายน 2539 ระยะเวลาการศึกษา 8 เดือน โดยเมื่อผลการศึกษามีความเหมาะสมจะได้เร่งดำเนินการจ้างที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบ รายละเอียดต่อไป
โครงการก่อสร้างแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" (ชั่วคราว)
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2539 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสให้คณะกรรมการ อำนวยการ แก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ ให้เร่งเตรียมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้าน ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยหากทำการก่อสร้างโครงการแก้มลิงอย่างถาวรไม่ทัน ก็ขอให้ก่อสร้างประตูระบายน้ำ เป็นการชั่วคราวไปก่อน
วันที่ 9 กรกฎาคม 2539 คณะอนุกรรมการศึกษาและกำหนดแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามพระราชดำริ ได้ประชุมพิจารณาเตรียมความพร้อมเพื่อรับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในฤดูฝน พ.ศ. 2539 และมีมติให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการก่อสร้างทำนบปิดกั้นคลองระบายต่าง ๆ ในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำเป็นการชั่วคราว และติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามบริเวณต่าง ๆ ที่จำเป็น โดยเน้นพื้นที่ตามแผนงานโครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" และพื้นที่ต่อเนื่อง
กรมชลประทานได้เร่งดำเนินการก่อสร้างทำนบชั่วคราวปิดกั้นในคลองมหาชัย-คลองสนามชัย พร้อมก่อสร้างประตูระบายน้ำ รวมทั้งคลองสาขาต่าง ๆ คือ ประตูระบายน้ำคลอง สหกรณ์สาย 3 ประตูระบายน้ำคลองเจ๊ก ประตูระบายน้ำคลองโคกขาม ประตูระบายน้ำคลองแสมดำและประตูระบายน้ำคลองแสมดำใต้ โดยเริ่มขนย้ายเครื่องจักรเครื่องมือและวัสดุก่อสร้างเข้าเตรียมงานก่อสร้างเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2539 และดำเนินการแล้วเสร็จวันที่ 16 กันยายน 2539
เมื่อก่อสร้างเสร็จ โครงการแก้มลิงฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" (ชั่วคราว) จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำตามคู คลองธรรมชาติต่าง ๆ ในช่วงฤดูฝน และป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มมิให้ไหลเข้าไปในแม่น้ำลำคลองและพื้นที่การเกษตร รวมทั้งสามารถเก็บกักน้ำจืดไว้ด้านเหนือประตูระบายน้ำเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ

นวัตกรรม

ความหมายของนวัตกรรม
คำว่า "นวัตกรรม" หรือ นวกรรม มาจากคำภาษาอังกฤษว่า "Innovation" โดยคำว่า นวัตกรรม มีรูปศัพท์เดิมมาจากภาษาบาลี คือ นว+อตต+กรรม กล่าวคือ นว แปลว่า ใหม่ อัตต แปลว่า ตัวเอง และกรรม แปลว่า การกระทำ เมื่อรวมคำ นว มาสนธิกับ อัตต จึงเป็น นวัตต และ เมื่อรวมคำ นวัตต มาสมาส กับ กรรม จึงเป็นคำว่า นวัตกรรม แปลตามรากศัพท์เดิมว่า การกระทำที่ใหม่ของตนเอง หรือการกระทำของตนเองที่ใหม่
ส่วนคำว่า "นวกรรม" ที่มีใช้กันมาแต่เดิม มีรากศัพท์เดิมมาจากคำว่า นว แปลว่า ใหม่ กรรม แปลว่า การกระทำ จึงแปลตามรูปศัพท์เดิมว่าเป็นการปฏิบัติหรือการกระทำใหม่ๆ ในความหมายโดยทั่วไปแล้วสิ่งใหม่ๆ อาจหมายถึงความคิด วิธีปฏิบัติ วัตถุหรือสิ่งของที่ใหม่ ซึ่งยังไม่เป็นที่รู้จักมาก่อน คำว่านวัตกรรมนี้อาจมีผู้ใช้คำอื่นๆ อีก เช่น นวัตกรรม ความจริงแล้วก็เป็นคำ ๆ เดียวกันนั่นเอง การกระทำของตนเองที่ใหม่
มีผู้ให้ความหมายของคำว่า “นวัตกรรม” ไว้หลายความหมาย เช่น
ทอมัส ฮิวช์ ให้ความหมายไว้ว่า "เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฎิบัติหลังจากผ่านการทดลอง หลังจากได้พัฒนาการเป็นขั้น ๆ และเริ่มตั้งแต่การคิดค้น การพัฒนาซึ่งอาจเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อนแล้วจึงนำไปปฎิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฎิบัติการเดิมที่เคยปฎิบัติมา"
มอร์ตัน ได้ให้ความหมายไว้ว่า "เป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้งซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาการศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่อยงาน ขององค์กรนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรืล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา"
ไชยยศ เรืองสุวรรณ ได้ให้ความหมายไว้ว่า "วิธีการปฎิบัติใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ ๆ ขึ้นมา หรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม และสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลองและพัฒนาไปจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น"
กล่าวได้ว่า “นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
โดยสรุปแล้ว นวัตกรรมหมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมให้ดีขึ้นและเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรม
โดยทั่วไปแล้ว นวัตกรรมสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
- Product Innovation เป็นนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างหรือพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบริการ (Tangible product and Intangible product)
- Process Innovation เป็นนวัตกรรมกระบวนการ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่มองในเรื่องของการเพิ่มผลผลิต โดยจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความรู้ทางด้านเทคโนโลยี มาพัฒนากระบวนการผลิต
- Organization Innovation เป็นนวัตกรรมที่เน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการจัดการและบริหารองค์กร ซึ่งจะต้อง ใช้ความรู้ความสามารถในด้านการบริหารการจัดการมาปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่

..ความสำคัญของ "นวัตกรรม"
ทำไมต้องมี..." นวัตกรรม " ?
“... คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้า ยิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม..”
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การแสดงปาฐกถาเรื่อง “เทคโนโลยี นวัตกรรม กับการพัฒนาประเทศ” ในการประชุมประจำปีของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542
นวัตกรรมคืออะไร? เหตุใดคนเราจึงจำเป็นต้องมีนวัตกรรม?
นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนเลย
2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่
3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
จากข้อความบางส่วนในการแสดงปาฐกถา ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้รู้ความหมายของคำว่า "นวัตกรรม" แล้ว คงทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ว่า นวัตกรรมมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก ในยุคโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนา การคิดค้น และการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ให้เกิดขึ้นบนโลกใบใหญ่ใบนี้ เพราะหากมนุษย์เราไม่มีนวัตกรรมแล้ว ความเป็นอยู่ของมนุษย์โลกในทุกวันนี้ก็คงยังล้าหลังอยู่เช่นในอดีต และความสำคัญของนวัตกรรมคือ การทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆขึ้นบนโลกใบนี้นั่นเอง...
ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา
ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตน์ มีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
กระบวนการเกิดการเกิดนวัตกรรม มี ๕ ขั้นตอน คือ
1) การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม
2) การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน
3) การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์
4) ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย
5) การขยายผล ( Diffision ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย


ความสัมพันธ์ของนวัตกรรมกับเทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับนวัตกรรมคำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ใช้ควบคู่กับ เทคโนโลยี เสมอๆ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Innotech ความจริงแล้วนวัตกรรมและเทคโนโลยีนั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดนวัตกรรม เป็นการคิดค้นหรือการกระทำใหม่ ๆเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นซึ่งอาจจะอยู่ในขั้นของการเสนอความคิดหรือในขั้นของการทดลองอยู่ก็ได้ ยังไม่เป็นที่คุ้นเคยของสังคม ส่วนเทคโนโลยี
มุ่งไปที่การนำสิ่งต่าง ๆรวมทั้งวิธีการเข้ามาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือแก้ปัญหาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ถ้าหากพิจารณาว่านวัตกรรมหรือสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่นี้น่าจะนำมาใช้ การนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้นี้ ก็จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีด้วย และในการใช้เทคโนโลยีนี้ถ้าเราทำให้เกิดวิธีการหรือสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น สิ่งนั้นก็เรียกว่าเป็นนวัตกรรม เราจึงมักเห็นคำ นวัตกรรมและเทคโนโลยี อยู่ควบคู่กันเสมอ
นวัตกรรม คือ การนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ การกระทำสิ่งใหม่ เพื่อปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพัฒนาการจัดการศึกษา นำมาใช้ในการจัดการ เรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น ส่วนเทคโนโลยี คือผลสืบเนื่องจากจากนำเอาความคิดใหม่ ความรู้ใหม่ วิธีการและเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ประยุกต์เข้ากับความรู้และวิธีการทางวิทยาศาสตร์นำมาใช้นำมาปฏิบัติในการจัดการศึกษาอย่างมีระบบการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ จะช่วยให้การจัดการศึกษามีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง มีการพัฒนาอย่างเหมาะสมขึ้นมีประสิทธิภาพดีขึ้น ได้ผลผลิตสูงขึ้น ดังตัวอย่าง
“นวตกรรม” (Innovation) ในการจัดการเรียนการสอน เช่น การใช้เทคนิคและวิธีการใหม่ ใช้วิธีการสอนแบบใหม่ เปลี่ยนไปจากการใช้วิธีบรรยาย ซักถามธรรมดา การผลิตวัสดุ อุปกรณ์ใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในการเรียนการสอน (Instructional Materials) การจัดทำ จัดหาพวกวัสดุ อุปกรณ์ที่ทำขึ้นเองได้ ซึ่งเป็นพวก Software เช่น การทำแผนภาพ แผนภูมิ หาวัสดุในท้องถิ่นเป็นอุปกรณ์ในการสอน การจัดทำ “บทเรียนสำเร็จรูป” “บทเรียนโปรแกรม” เพื่อใช้ในการเรียนการสอนและการสอนซ่อมเสริม การจัดให้นักเรียนเก่งช่วยนักเรียนอ่อน ให้นักเรียนเป็นผู้ช่วยครู (Teacher assistant) เป็นต้น
“เทคโนโลยี”(Technology)ในการจัดการเรียนการสอนเช่นโรงเรียนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้คอมพิวเตอร์ให้นักเรียนได้ศึกษาหาความรู้ด้วยการปฏิบัติตามขั้นตอน นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนของการเรียนรู้ที่ซอฟแวร์ในคอมพิวเตอร์สั่งการตามลำดับขั้นการใช้วิธีโอเทปการใช้วิทยุใช้โทรทัศน์ช่วยสอนรับบทเรียนทางไกลของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เช่น การรับบทเรียนของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นการอาศัยการใช้เครื่องช่วยสอน เป็นต้น
การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็มว่า“InnovationTechnology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ขณะนี้ยังไม่มีศัพท์เฉพาะในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้องนำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอนซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา

9 ก.พ. 2553

โครงการพัฒนาดอยตุง ( พื้นที่ทรงงาน )อันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ความเป็นมา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เคยทรงมี
พระราชปรารภกับผู้ที่ตามเสด็จหรือผู้ที่เข้าเฝ้าฯ หลายๆท่านว่าพระองค์ทรงมีพระรประสงค์ที่จะหาหน่วยงานและประชาชนมาร่วมปลูกป่า ทั้งนี้ เพราะทรงมีประราชปณิธานอย่างแรงกล้าที่จะเห็นป่าของเมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์มีความชุ่มชื้นและมีพรรณไม้ที่มีดอกอันสวยงาม แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ยังไม่ปรากฎเป็นรูปธรรมจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระศรีนครินทราบมราชชนนี ทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วรัฐบาลและประชาชนต่างมีความห่วงใยและเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรจะทรงมีที่ประทับในประเทศไทยแทนการแปรพระราชฐานไปประทับในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ในทุกรอบ 2 ปี หลังจากทรงพักพระราชกรณียกิจ ดังนั้น สํานักงานราชเลขานุการในพระองค์จึงได้พยายามหาสถานที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสร้างที่ประทับและในปี พ.ศ.2530 นายดํารง พิเดชหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำ 31 ได้นํา ม.ร.ว.ดิศนัดดาดิศกุล ราชเลขานุการในพระองค์ มาตรวจดูสภาพดอยบริเวณบ้านอีก้อป่ากล้วย ตําบลแม่ไร่ อําเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งสถานที่นี้มีทําเลที่มีภูมิทัศน์และสภาพอากาศคล้ายที่ประทับในประเทศสวิตเซอแลนด์ ซึ่งพระองค์สามรถทรงงานเพื่อก่อประโยชน์ได้ จึงได้นําความขึ้นกราบบังคมทูลทราบฝ่าละอองพระบาท
ในวันที่ 15 มกราคม 2530 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชินีได้เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา มาทอดพระเนตรบริเวณที่เห็นสมควรจะสร้างพระตําหนัก ทั้งสองพระองค์ ทรงโปรดสถานที่แห่งนี้และได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า " ฉันจะปลูกป่าบนดอยตุง " และเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530 สมเด็จ พระศรีนครินทราบรมราชนนี เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับที่เขื่อนภูมิพลจังหวัดตาก พลเอกชวลิต ยงใจยุทธผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้ บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้นพร้อมด้วยพลเอก จรวย วงศ์สายัณห์ เสนาธิการทหารบก ได้เข้าเฝ้าเพื่อถวายรายงานความเรียบร้อยของการจัดงานไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีรับสั่งถึงประสบการณ์ที่ทรงปลูกป่าบนดอยตุง ใกล้กับพระตําหนักภูพิงค์ฯ จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีรับสั่งต่อว่าพระองค์ฯเคยเสด็จฯขึ้นมานมัสการพระธาตุดอยตุง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เสด็จฯมาจังหวัดเชียงราย โดยมาประทับที่สถานีประมง จังหวัดพะเยา ในปี 2509 ซึ่งครั้งนั้นพระองค์ทรงเห็นสภาพบนดอยตุงเป็นสภาพป่าไม้ที่ถูกตัดทําลายโดยการทําไร่เลื่อนลอย และทําการปลูกฝิ่นเป็นอาชีพ รวมทั้งทรงเห็นสุขภาพอนามัยของประชาชนที่เสื่อมโทรม และเด็กไร้การศึกษาทรงมีพระราชปรารภว่า " อยากจะไปปลูกป่าบนดอยตุงแต่คงจะต้องใช้ระยะเวลานานมากอาจจะ 10 ปี ซึ่งฉันคงไม่ได้เห็น " พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ จึงกราบทูลว่าจะพยายามทําให้สําเร็จภายใน 5 ปี ซึ่งพระองค์พอพระทัยมาก พระราชดําริของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนี ดังกล่าวข้างต้น ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้รายงานเรื่องนี้ต่อรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี และ ฯพณฯ ท่านนายกฯ ได้เห็นชอบและอนุมัติให้ดําเนินการตามโครรงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน2530 และในวันที่ 22 มิถุนายน 2530 ได้แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัฒนาดอยตุงจังหวัดเชียงรายขึ้น เพื่อรับผิดชอบในการดําเนินการและจัดทําแผนงานโครงการและกิจกรรมพัฒนาต่างๆ พร้อมทั้งได้สั่งให้นําเสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2531 ให้เความเห็นชอบในการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย ปีพ.ศ.2531-2533 และต่อมาได้มีการขยายเวลาการดําเนินงานโครงการพัฒนาดอยตุงออกไปอีกเป็น 3 ระยะคือระยะที่ 1 ตั้งแต่ปี 2534-2536 ระยที่ 2 ตั้งแต่ปี 2537-2545 ระยะที่ 3 ตั้งแต่ปี 2546-2560 นับตั้งแต่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในการดําเนินการตามโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ี่26 เมาายน 2531 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายสําหรับทรงงาน จํานวน 6 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 7,737 ไร่ มีกรอบแนวทางดําเนินการและหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้ 1. พื้นที่ที่ 1 บ.ลาบา ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีพื้นที่ 983 ไร่ 2. พื้นที่ที่ 2 หน่วยย่อยป่าไม้ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,390 ไร่ 3. พื้นที่ที่ 3 บ.จะลอ ต.แม่ไร่ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 175 ไร่ 4. พื้นที่ที่ 4 บ.ผาหมี ต.เวียงพางคํา อ.แม่สาย จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 2,464 ไร่ 5. พื้นที่ที่ 5 พื้นที่บริเวณรอบพระตําหนักดอยตุง กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 1,963 ไร่ 6. พื้นที่ที่ 6 พื้นที่ระหว่างบริเวณ หลังวัดน้อยดอยตุง และบ.อีก้อผาฮี้ กิ่ง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย มีเนื้อที่ 730 ไร่่ในเวลาต่อมาได้มีการขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 27 หมู่บ้าน รวมเป็นพื้นที่ในโครงการพัฒนาดอยตุงประมาณ 93,515 ไร่
--------------------------------------------------------------