21 ก.พ. 2553

โครงการกังหันสูบน้ำศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน

โครงการกังหันสูบนํ้าศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดฉะเชิงเทรา
โครงการนี้ดำเนินการโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ โดยได้งบประมาณเป็นเงิน 905,000 บาท จากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีระยะเวลา ดำเนินงานตั้งแต่สิงหาคม 2542 ถึงสิงหาคม 2543 เป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 โดยการนำพลังงานทดแทนมาใช้เพื่ออนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ
โครงการตั้งอยู่ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา บนพื้นที่แปลงเกษตร บริเวณอ่างเก็บน้าห้วยเจ็ก, ห้วยน้าโจน และสระน้าซับอื่น ๆ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ จำนวน 3 ระบบ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวอยู่บนเนินเขาลูกระนาด จึงมีศักยภาพพลังงานลมมีมากพอสำหรับระบบ สูบน้าด้วยกังหันลม โดยเลือกใช้เทคโนโลยีกังหันลมที่มีอยู่แล้วในเชิงพาณิชย์ภายในประเทศ กังหันลมที่ เลือกใช้เป็นแบบแกนนอน มีใบหลายใบ ติดตั้งบนเสาโครงถักสูง 18 เมตร จำนวน 3 ตัว เส้นผ่าศูนย์กลาง กังหัน 14 ฟุต ปั๊มน้าเป็นแบบลูกสูบระยะชัก 7 นิ้ว และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5นิ้ว เนื่องจากพลังงานลมไม่ มีช่วงเวลาที่แน่นอน จึงมีความจำเป็นต้องมีหอสูง 12 เมตรเพื่อกักเก็บน้าและจ่ายน้าไปสู่แปลงเกษตรที่ใช้ แบบหัวฉีด หรือแบบน้าหยด จากข้อมูลการวัดพลังงานลมบริเวณข้างเคียง พบว่า มีความเร็วลมเฉลี่ย ประมาณ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง วันละ 13 ชั่วโมง ซึ่งกังหันลมรูปแบบที่เลือกใช้นี้สามารถสูบน้าได้เฉลี่ย วัน ละ 15-20 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ที่หัวยกน้ารวม 18 เมตร และได้กําหนดให้มีหอถังสูงเก็บน้าได้ร้อยละ 60 โดยปริมาตร จึงเลือกใช้หอถังสูงขนาดความจุ 12 ลูกบาศก์เมตร
รูปที่1 กังหันลมสูบน้าบริเวณอ่างเก็บน้าห้วยเจ็ก
รูปที่2 กังหันลมที่เหลืออยู่เพียงแพนหาง ในบริเวณโครงการพัฒนาส่วนพระองค์ รูปที่ 3 กังหันลมสูบน้าริมอ่าง 10ใกล้ๆ กับพระตำหนักสามจั่ว ที่สภาพโดยรวมดี ใช้รดน้าต้นไม้รอบตำหนัก
เมื่อสำรวจโครงการ และสัมภาษณ์คุณวิรัตน์ จำลอง นายช่างเครื่องกล กรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งดูแล กังหันลมข้างอ่างเก็บน้าห้วยเจ็ก (รูปที่ 7.29) จึงทราบว่าใช้งานไม่ได้มากว่า 1 ปี ขณะที่ใช้งานได้กังหันลมจะ สูบน้าเข้าแปลงข้าวโพดอย่างเพียงพอ ปัญหาที่พบได้แก่ เสียงดังเนื่องจากระบบหล่อลื่นของแบริ่งขาดการ
ซ่อมบำรุง เนื่องจากตัวกังหันอยู่สูงเกินไป ทำให้ไม่ปลอดภัยต่อการปี นขึ้นไป หากสามารถเติม น้ามันหล่อลื่นจากด้านล่างเหมือนรถแมกโครได้ จะช่วยแก้ปัญหาในจุดนี้
ยิ่งกว่านั้นขณะเดินทางอยู่โครงการส่วนพระองค์ พบเสากังหันลมที่คงเหลือไว้แต่แพนหาง (รูปที่ 2) กังหันสูบน้าที่สำรวจสองตัวสุดท้าย อยู่ริมอ่าง 10 (รูปที่ 3) ข้างตำหนักสามจั่ว เป็นกังหันที่มีสภาพโดยรวมดี ใช้ในการสูบน้ารดน้าต้นไม้รอบตำหนัก และกังหันสูบน้าริมห้วยน้าโจน (รูปที่ 4) ที่มีสภาพโดยรวมดี เช่นกัน กังหันลมทั้งสองรอเก็บข้อมูลผ่านโทรศัพท์อีกครั้ง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรม พัฒนาที่ดิน
รูปที่4 กังหันสูบน้าริมห้วยน้าโจน สำหรับสูบน้าเข้าสู่แปลงเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น